ดอกหน้าวัว
ชื่อสามัญ Anthurium
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium andraeanum
ตระกูล Araceae (arum)
ถิ่นกำเนิด โคลัมเบีย
ลักษณะทั่วไปของดอกหน้าวัว
หน้าวัวเป็นไม้พุ่มเตี้ยใช้ปลูกคลุมดิน มีอายุหลายปี เติบโตเป็นต้นเดี่ยวหรืแตกกอ ลำต้นสั้นหรืยืดยาวคล้ายไม้เลื้อย และทิ้งใบช่วงล่างของต้นพร้อมทั้งเกิดรากใหม่ที่บริเวณ เป็นไม้ตัดดอกที่มีรูปร่างแปลกตา สีสันสดสวย ออกดอกได้ตลอดปี ใบของหน้าวัวมีแตกต่างกันไปหลายแบบ เช่น รูปหัวใจ รูปใบหอก รูปสามเหลี่ยม หรือใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบแตกออกจากลำต้นเรียงเวียนสลับกัน ขนาดและสีต่างกันไปตามชนิดและพันธุ์
ดอกของหน้าวัวเกิดจากตาดอกที่ซอกของใบ ปกติตาดอกและใบอ่อนจะเกิดพร้อมกัน แต่ตาดอกจะพัฒนาขึ้นมาหลังจากใบแก่สมบูรณ์แล้ว ดังนั้นต้นที่โตเร็วจึงมักจะให้ดอกดก ดอกหน้าวัวมีสวนประกอบด้วยช่อดอกที่เรียกว่า ปลี ซึ่งอาจมีสีขาว เหลือง หรือขาวปลายสีเหลือง และจานลองดอกหรือที่เรียกว่า ดอก นั่นเอง จานลองดอกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ใบประดับ มีลักษณะคล้ายใบติด ที่โคนปลีหน้าวัว
สีของจานรองดอกมีหลากสี เช่น ขาว เขียว ชมพู ส้ม แดง ม่วง หรือมีหลายสีปนกัน อาจเรียบหรือย่นเป็นร่องชึ่งมีคำเรียกเฉพาะว่า ร่องน้ำตา ซึ่งอาจตื้นลึกต่างกันไปตามพันธุ์
หน้าวัวจะเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูงแสงรำไรและมีลมพัดผ่านไม่แรงนักสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือปริมาณแสงแดดที่ต้นได้รับ เพราะแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเหลือง สีดอกซีดและเป็นรอยไหม้ แต่ถ้าได้รับแสงน้อยเกินไป จะทำให้ใบมีสีเขียวเข้ม และออกดอกน้อย
ปริมาณแสง การปลูก และการขยายพันธุ์
ปริมาณแสง ที่เหมาะสมคือประมาณ 20 - 30 % จะทำให้ต้นออกดอกดก คุณภาพดอกดี วัสดุปลูก ที่นิยมใช้กันมากคือ อิฐมอญทุบ ถ่านกาบมะพร้าว ใบไม้ผุ กะลาปาล์มน้ำมัน การปลูกในกระถางส่วน ผสมของดินใช้ดินร่วน 2 สวน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 สวน ทรายหยาบ 1 สวน การเพาะเมล็ด นิยมใช้เพื่อการปรับปรุงพันธุ์หรือเพื่อผลิตลูกผสมที่มีลักษณะต่างไปจากพ่อ-แม่พันธุ์เท่านั้น ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 3 ปี ต้นจึงจะให้ดอก การเพาะเมล็ดพันธุ์ควรทำทันทีหลังจาก เก็บผล เพราะเมล็ดหน้าวัวสูญเสียความงอกเร็วมาก
การตัดชำยอด จะทำเมื่อต้นมีความสูงกว่าวัสดุปลูกเกิน 60 เซนติเมตร โดยตัดยอดให้ใบติดอยู่ 3 - 5 ใบ และมีราก 2 - 3 ราก ทาแผลที่เกิดจากรอยตัดด้วยยาป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นนำยอดไปปักชำในที่ร่มและมีความชื้นสูง เมื่อมียอดใหม่และรากงอกแล้วจึงย้ายไปปลูกตามปกติ ารแยกหน่อหรือตัดหน่อ นิยมทำหลังจากที่ตัดยอดชำแล้ว ต้นตอที่ถูกตัดยอดแล้วจะมีหน่อใหม่เกิดขึ้น สามารถตัดแยกหน่อไปปลูกได้ โดยหน่อนั้นควรเป็นหน่อที่มีขนาดใหญ่และมีราก 2 - 3 รากแล้ว
การปักชำต้น ใช้กับต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุมากและถูกตัดยอดไปชำแล้ว โดยตัดต้นเป็นท่อน แต่ละท่อนให้มีข้อ 2 - 3 ข้อ ไปปักชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็กๆ ความชื้นสูง แต่ไม่แฉาะ ควรปักชำให้ยอดทำมุมประมาณ 30 - 40 องศา วิธีนี้ใช้เวลานานและต้นใหม่ที่ได้มักไม่แข็งแรงจึงไม่ค่อยนิยมกันนัก
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีที่ใช้เมื่อต้องการต้นจำนวนมากในระยะเวลาสั้น นิยมใช้กับพันธุ์ที่ผลิตเพื่อการค้า การดูแลรักษาสภาพการปลูกถ้าปลูกในบ้านหรือาคารสำนักงานควรรดน้ำวันละ 2 ครั้งในต้อนเช้าและตอนเย็นส่วนในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว ชึ่งความชื้นในอากาศมีน้อย ควรรดน้ำเพิ่มในช่วงบ่ายด้วย สวนการให้ปุ๋ยนิยมให้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีละลายน้ำ เช่น สูตร 10-10-30 , 17-34-17, 16-21-27 ฉีดพ่นทางใบหรือรดที่โคนต้นก็ได้อาจเสริมด้วยกระดูกป่นเล็กน้อย 2 - 3 ครั้งต่อเดือน
การปลูกเลี้ยงหน้าวัวให้ได้ต้นที่สมบูรณ์และให้ดอกสม่ำเสมอนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตัดแต่งต้น ตัดใบและดอกที่แก่ หรือเป็นโรคทิ้ง ไม่ควรปล่อยให้ต้นมีใบที่ดกจนเกินไป เพราะจะทำให้การถ่ายเทอากาศบริเวณโคนต้นไม่ดี เป็นแหล่งสะสมโรค ควรตัดใบให้เหลือประมาณ 3 - 4 ใบต่อยอดในทุกๆปี
โรคและแมลงศัตรูพืชของดอกหน้าวัว
โรคใบจุดหรือปลีจุด ระบาดมากในฤดูฝน เกิดจากเชื้อรา ทำให้ใบเป็นจุดแห้งหรือปลีเป็นสีน้ำตาล นิยมใช้มาเน็บ(manab) หรือคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ฉีดพ่นเมื่อละบาด
โรคใบไหม้ ระบาดมากในช่วงฤดูฝนเกิดจากเชื้อราทำให้ใบมีจุดสีเขียวหม่นลักษณะช้ำหรือไหม้อาจขยายเป็นแผลขนาดใหญ่จนเน่าแลและแห้งในที่สุด ทำลลายดอกและหน่ออ่อน ควรฉีดพ่นด้วยแคงเกอร์เอ๊กซ์หรือสเตรปสลับกับยาโคไซด์และโคแมกซ์
โรครากเน่า จะเกิดเมื่อวัสดุปลูกระบายน้ำไม่ดีและไม่สะอาด เชื้อโรคจึงเข้าทำลายได้ง่าย เมื่อพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรค ต้องนำไปเผาทำลายทิ้งเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ หรือราดแปลงปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
โรคใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบและดอกมีลักษณะหนาและด้าน มีขนาดเล็ก รูปทรงผิดธรรมชาติ เมื่อพบต้นเป็นโรค ต้องนำไปเผาทิ้งทำลายทันที
นอกจากนี้อาจพบแมลงศัตรูพวกเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง ซึ่งระบาดมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนหนอนกินใบ แมงมุมหอยทาก หนู และกระรอก ที่มักทำความเสียหายให้กับดอกหน้าวัวมาก ควรหมั่นตรวจดูแอยู่เสมอ
(ล้อมกรอบ)ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
หน้าวัวจัดเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากๆ เพราะว่าส่วนหนึ่งนั้น เนื่องมาจากดอกมีสีสันที่สวยงาม สะดุดตา อีกทั้งก้านดอกยาว และแข็งแรงมีอายุการใช้งานนานที่คงทน ตลอดทั้งเป็นที่นิยมของตลาด ในต่างประเทศ
จากผลสำรวจทำให้พบว่าหน้าวัว เป็นไม้ตัดดอกที่ทำรายได้สูงสุด ถึงกว่า 140,000 บาท/ไร่/ปี รองลงมาคือ ดอกเบญจมาศ แม้ช่วงของการเริ่มต้นนั้น การปลูกหน้าวัว จะจำเป็นต้องลงทุนในงบประมาณที่สูงก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถลดต้นทุนการผลิตเกี่ยวกับโรงเรือนได้ในบางพื้นที่ เช่น การปลูกในพื้นที่ว่างของสวนยางพารา ทางภาคใต้ หรือ พื้นที่ว่างในป่าสนสองใบ ในจังหวัดภาคเหนือ เป็นต้น
(ล้อมกรอบ)การตัดดอก
หน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกที่มีความทนทานมาก และสามารถตัดดอกในระยะใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการของตลาด แต่ถ้าจะเลือกตัดดอกที่มีคุณภาพดีแล้ว ควรตัดเมื่อปลีเปลี่ยนมาเป็นสีขาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวปลี ตัดระยะนี้จานดอกจะคลี่เต็มที่ สีเป็นมันสดใส การตัดระยะนี้ดอกเก็บได้ทนประมาณ 12 วัน ถ้าตัดในขณะที่เปลี่ยนเป็นสีขาวหมด หรือสีขาว 3/4 ของความยาวปลี จะเก็บได้นานประมาณ 23 วัน แต่จานรองดอกในระยะนี้จะคลายความสดใส ถ้าตัดขณะที่ปลีเปลี่ยนเป็นสีขาวหมดหรือสีขาวนั้นเริ่มจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมะนาว ซึ่งเป็นระยะที่ดอกบานเต็มที่หรือค่อนข้างแก่ หรือนานเกินไป การตัดระยะนี้ จะทำให้เก็บได้ทนนานถึง 27 วัน แต่จานรองดอกและปลีจะด้าน ขาดความสดใสและเงางาม
(ล้อมกรอบ)การเก็บรักษาดอกหน้าวัว
การเก็บรักษาดอกหน้าวัวหลังจากตัดดอกจากต้น ควรตัดก้านด้วยมีดเบา ๆ อย่าทำแรง เพราะจะทำให้จานรองดอกช้ำง่าย เมื่อช้ำแล้ว จะทำให้คุณภาพดอกเสียไป ถ้าไม่ใช้การจุ่มดอกให้เปียก ก็ควรพ่นน้ำเป็นละอองฝอยไปที่ดอกและจานรองดอก จะทำให้เก็บรักษาความชื้น และดอกสดใสสวยงาม
Sunday, December 16, 2007
Subscribe to:
Posts (Atom)